ธุรกิจเติบโตขึ้น เมื่อติดหน้าแรก Google ด้วย SEO
สำหรับธุรกิจไหนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หากต้องการเพิ […]
หลังจากที่ Google เปิดตัวอัลกอริทึมที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของ Google จากการเปิดตัวทำให้เว็บไซต์หลายเว็บไซต์มีอันดับหล่นร่วงกันไปบ้าง และการอัปเดตของกูเกิ้ลในครั้งนี้ก็เหมือนทุกครั้ง ไม่มีการระบุการแก้ไขเว็บไซต์เพิ่มเติมแม้แต่อย่างใด
โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ SEJ หรือ Search Engine Journal ได้รวมความคิดเห็นเกี่ยวกับการอัปเดตครั้งนี้มา ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์และการเสิร์ชอย่างไร
1. Local Search Business ทราฟฟิกการค้นหา Local ลด
2. เว็บไซต์ที่นำเสนอคอนเท้นต์เกี่ยวกับสุขภาพหรือ Health ได้รับผลกระทบอย่างหนักกับการอัปเดตครั้งนี้
3. อีกทั้งเชื่อว่าการอัปเดตครั้งนี้ได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ทุกภาษา
การอัปเดตอัลกอริทึม Broad Core Algorithm เริ่มส่งผลให้การจัดอันดับบนการค้นหาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2019 ซึ่งการอัปเดต Google ช่วงนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากเพียงเน้นที่บทความ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการอัปเดต Core Algorithm แต่หากสังเกตการเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือการให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์มีอันดับที่ลดลงค่อนข้างหนัก
หลังจาก Google อัปเดต Core Algorithm รอบที่ 2 ของปี และการอัปเดตครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์แบบกว้าง ๆ และดูเหมือนว่าไม่ใช่เพียงกลุ่มสุขภาพและการแพทย์หรือกลุ่ม YMYL (Your Money Your Life) เท่านั้น!!
กลุ่มเว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 2 อันดับ ได้แก่
1. สุขภาพและเกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ และ YMYL ซึ่งมีเว็บไซต์อันดับที่ดีและได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วย เช่นกัน
2. เว็บไซต์ E-Commerce ได้รับผลที่ดีขึ้นจากความน่าเชื่อถือ (Authority)
จุดสังเกตหลัก ๆ ของการอัปเดตที่ผ่านมา เว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบจาก Core Algorithm เว็บไซต์ควรโฟกัสที่การอัปเดตตอนเท้นต์อยู่เสมอและให้มีความน่าเชื่อถือ หากเป็นกลุ่ม YMYL ควรมีแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งที่มาระบุมา ให้ความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ด้วย
แล้วถ้าหากอันดับร่วงเราจะสามารถปรับแก้ไขได้อย่างไร?
? การแนะนำจาก Google ก็ยังบอกอีกเหมือนเดิมทุกครั้ง ว่าไม่ต้องมีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติม โดยสิ่งที่ Google อยากโฟกัสหลัก ๆ ตลอดเสมอมา คือ
1. คอนเท้นต์ (Content)
2. ความเชี่ยวชาญ (Authority)
3.การนำเสนอหรือการแสดงผลในทุกหน้าจอ (Responsive design)