การสร้างเว็บไซต์มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร แล้วทำเว็บไซต์เองจะดีกว่าไหม?
การสร้างเว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญในยุคออนไลน์ที่ทุกอย่างอยู […]
การเพิ่มยอดขายเป็นวิธีที่ทุกธุรกิจมุ้งเน้นที่จะทำให้เกิดผลอยู่แล้ว แต่จะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไปตามวิธีคิดของแต่ละธุรกิจ ซึ่งอาจต้องลงแรงมากขึ้น ลงเวลามากขึ้น บ้างก็ต้องลงทุนมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการ แต่สำหรับการเพิ่มยอดขายออนไลน์นั้น เป็นวิธีง่ายๆ แต่ทำให้เกิดผลได้ยาก เพราะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ พฤติกรรมของลูกค้า การเก็บข้อมูล และอื่นๆอีกมากมาย
ซึ่งในหัวข้อนี้แอดมิน Cz จะพูดถึงประเภทธุรกิจที่ควรปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์ และช่องทางการทำการตลาดในแต่ละธุรกิจ เพื่อให้เห็นช่องทางมากขึ้นในการเพิ่มยอดขาย และเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะเราอยู่ในยุคที่ใครก็ค้นหา ใครๆก็ถามอากู๋ Google
ธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในชุมชน การกระจายสินค้าจึงอยู่ในวงที่จำกัด เรียกได้ว่าคนที่จะซื้อสินค้านั้นก็เป็นผู้ที่สัญจรไปมาแถวๆร้านนั่นแหละ ด้วยเงื่อนไขที่จำกัด ยอดขายจึงจำกัดด้วยเช่นกัน นี่ยังไม่รวมคู่แข่งที่จะมาเปิดร้านแข่งอีกนะ ถ้ามีก็ยิ่งโดนดึงยอดขายเข้าไปใหญ่ ฉะนั้นกิจการขนาดเล็กควรเริ่มปรับตัวด้วยการ ปักแผนที่ร้านบนแมพของกูเกิ้ล และเข้าร่วมกับ Google My Bussiness เพื่อให้ลูกค้าค้นหาคุณเจอ
“เช่น ตัวอย่างร้านน้ำผลไม้ปั่น ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีการค้นหานับร้อยครั้งต่อเดือนบนกูเกิ้ลแม้จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก”
สำหรับธุรกิจเจ้าของคนเดียว อาจเป็นธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง หรือเป็นประเภทโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กก็ได้ ซึ่งสามารถเริ่มต้นง่ายๆได้ด้วยการใช้วิธีเดียวกันกับกิจการขนาดเล็กแต่ทั้งนี้ก็ต้องมาดูกันที่ตัวสินค้าด้วยว่าสามารถขายทั่วประเทศได้หรือไม่ ถ้าได้ควรจะมีแฟนเพจร้าน เพื่อทำการโปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จัก หากเป็นโรงงานก็ควรที่จะมีเว็บไซต์เพื่อให้พ่อค้าคนกลาง หรือลูกค้าพบสินค้าของคุณบนผลการค้นหา
สำหรับธุรกิจครอบครัวส่วนมากจะดำเนินกิจการกันเอง โดยช่วยเหลือกันในครอบครัว ปัจจุบันธุรกิจแบบนี้ลดน้อยลง เพราะขาดการต่อยอด และขยายกิจการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อยอดขายที่ลดลงเรื่อย ด้วยภาพลักษณ์ของธุรกิจที่ล้าสมัย การเกิดใหม่ของคู่แข่ง ดังนั้นสิ่งที่ควรทำอย่างแรกคือการปรับภาพลักษณ์ของร้านให้เข้ากับยุคสมัย และขยายกระตุ้นการรับรู้ด้วยรถโฆษณา จะโปรโมทผ่านแฟนเพจ หรือขายสินค้าของคุณบนแฟลตฟอร์มสินค้าออนไลน์ และควรศึกษาการทำ SEO บนแฟลตฟอร์มสินค้าบนไลน์ด้วย
ขนาดของธุรกิจประเภทนี้ เป็นกิจการที่อาจจะมีพนักงานตั้งแต่ 10-50 คน ซึ่งต้องดูแล และผลิตสินค้าทุกวัน เดิมอาจจำหน่ายสินค้าภายในจังหวัด แล้วขยายสาขาไปยังจังหวัดต่างๆมากขึ้น ซึ่งวิธีเดิมนี้ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ทั้งที่สามารถยืดยุ่นได้ด้วยการทำเว็บไซต์ และทำอันดับให้เป็นที่รู้จัก แล้วส่งสินค้า หรือบริการไปยังจังหวัดต่างๆโดยบวกค่าบริการเพิ่ม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่กิจการของคุณควรผันตัวเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่า
เรากำลังอยู่ในยุคที่ลูกค้าที่มีความต้องการซื้อสินค้าผ่านการเสิร์ชเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และที่เติบโตไม่แพ้กันนั่นก็คือ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าที่ค้นหาสินค้าราคาส่ง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อ ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง รายไหนที่เข้าสู่ออนไลน์ก่อนย่อมมีความได้เปรียบในการเติบโต โดยวิธีการนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงคุณฝากร้านกับเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่าย หรืออาจจะทำหน้าเซลล์เพจหน้าเดียวเพื่อบอกถึงสินค้าของคุณ แล้วทำให้ผู้ใช้เห็นจากการเสิร์ชด้วยโฆษณาบนกูเกิ้ล (Google Ads) ทั้งนี้ควรจำหน่ายสินค้าบนแฟลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ด้วยเพื่อเพิ่มยอดขาย
เรากำลังขยับเข้าสู่ยุคที่ผู้ซื้อมักจะอ่านคอนเทนท์ก่อนตัดสินใจซื้ออะไรบางอย่าง นั่นจึงเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า ธุรกิจที่เน้นการขายอย่างเดียวอาจกลายเป็นสัญญาณเตือนที่จะทำให้กิจการดึงเหว เพราะการรักษาฐานลูกค้าบนออนไลน์นั้นต้องเสริฟคอนเทนท์ที่น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอให้กับฐานลูกค้าที่มีความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ ผ่านเพจบนเฟซบุ๊ค หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ จะทำให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ที่จริงแล้วกลุ่มธุรกิจหรือโรงงานขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีการโปรโมท หรือทำให้เป็นที่รู้จัก ก็มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ามารอซื้อสินค้าถึงหน้าโรงงานอยู่แล้ว แต่ถ้าคิดแบบนั้น ก็คงมีแต่คนในพื้นที่ ที่รู้จักโรงงานของคุณเท่านั้น น่าเสียดายที่กลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารุ่นใหม่ ไม่รู้จักแหล่งซื้อสินค้าจากโรงงานของคุณ ฉะนั้นหากเห็นว่ากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้มีความสำคัญ การเริ่มต้นด้วยการทำเว็บไซต์ ดูจะเป็นทางออกที่ไม่เลวเลย ที่จะช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้ค้นหาสินค้าของคุณเจอ
เขียนโดย: สิทธิกร โสภา